เงินแท่งสยามคืออะไร?

POTED ON 2022-12-21 16:30:30 BY BOWINS SILVER

เงินเป็นโลหะมีค่าและนำมาใช้ผลิตสิ่งต่างๆ มาอย่างยาวนานเราจะมาบอกความเป็นมาของเงินแท่งในสมัยก่อนให้ทุกคนได้รู้กันค่า
บทความนี้จะมาบอกความเป็นมาของเงินแท่งสยาม
เงินแท่งสยามนั้นเป็นแท่งเรียวยาว ทำจากทองแดงแล้วชุบด้วยเงิน จนเป็นที่น่าแปลกใจว่าเหตุใดเงินตราชนิดนี้จึงไม่ทำจากโลหะเงินทั้งแท่ง แต่กลับทำจากทองแดงแล้วชุบด้วยเงิน เพราะเงินตราที่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปในสมัยนั้นมักทำด้วยโลหะเงินทั่วทั้งชิ้นเงิน เป็นเพราะว่าเงินตรานี้ตีตราจักรซึ่งเป็นตราราชวงศ์จักรีของสยามและคงเป็นเงินตราที่สยามเข้ามามีบทบาทให้มีการผลิตขึ้น จึงเป็นที่มาของชื่อ “เงินสยามหรือเงินแท่งสยาม” นั้นเอง
ลักษณะด้านหน้าของเงินแท่งนี้จะตอกตราไว้อย่างน้อย ๓ ตราคือ ตราจักรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์จักรีของสยาม ตราจักรนี้เป็นตราจักรที่ใช้สมัยรัชกาลที่ ๒-๓ ของสยาม จึงทำให้สามารถประมาณอายุหรือช่วงเวลาที่มีการใช้เงินตราชนิดนี้ว่าอาจอยู่ในช่วงปี พ.ศ.๒๓๕๒-๒๓๙๔ ซึ่งเป็นช่วงสมัยรัชกาลที่ ๒-๓ ของสยาม
เงินแท่งสยามนี้มีด้วยกัน 3 ขนาดคือ ขนาดใหญ่ หนักประมาณ ๗๔-๗๖ กรัม ขนาดกลางหนักประมาณ ๓๕-๓๘ กรัม ขนาดเล็กหนักประมาณ ๑๗-๑๙ กรัม รูปแบบน้ำหนักดังกล่าวพบว่าสอดคล้องกับระบบน้ำหนักของจีนหรือเวียดนามคือระบบเงินตำลึงจีน โดยหนึ่งตำลึงจีนจะหนักประมาณ ๓๘ กรัม ในขณะที่หนึ่งตำลึงของสยามจะหนักประมาณ ๖๐ กรัมหรือสี่บาท ทำให้เงินแท่งสยามทั้ง ๓ ขนาด มีขนาดตามระบบเงินตำลึงจีนคือ สองตำลึง หนึ่งตำลึง และ ครึ่งตำลึง ตามลำดับ
ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นเงินแท่งในรูปที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
สนใจสอบถามราคาเม็ดเงินติดต่อ
Tel : 02-720-3000
Line@ : @bowins
Facebook : Bowins Silver

#silverbars #silverbullion #bowins #bowinssilver #โบวินส์ #โบวินส์ซิลเวอร์ #silver #silvergrains #ราคาเม็ดเงินวันนี้ #ซิลเวอร์ #spotsilver #ประโยชน์ #โลหะ #siambar #สยาม #ไทย