วันนี้เราจะมาบอกถึงวิธีทำเครื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์กันค่ะ การผลิตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นงานฝีมือช่างชั้นสูง ที่ต้องใช้ความละเอียดพิถีพิถันในทุกขั้นตอน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นเหรียญที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกหรือเป็นอนุสรณ์สำหรับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง รวมทั้งเป็นเหรียญที่สำนักกษาปณ์รับจ้างผลิตให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆ ตามรูปแบบที่กำหนด
โดยจะผลิตด้วยโลหะมีค่าเช่น เงิน ทองคำ และโลหะผสมทองแดง เช่นเดียวกับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก แต่ต่างกันที่เหรียญที่ระลึกไม่มีสภาพเป็นเงินตรา และไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
การผลิตแต่ละ ชิ้นส่วนมีขั้นตอนสำคัญประกอบกัน ดังนี้
1.เตรียมแผ่นโลหะเงิน เตรียมแผ่นโลหะเงินส่วนผสม 80% และ 95% ให้มีขนาด และความ หนาตามความต้องการ โดยวิธีการเช่นเดียวกับการผลิตเหรียญตัวเปล่า
2.ตีตรา นำแผ่นโลหะเงินที่เตรียมไว้มาตีตราให้มีลวดลายตามรูปแบบที่ต้องการ
3.ตัดส่วนเกิน นำชิ้นงานที่ตีตราแล้วมาตัดเนื้อโลหะส่วนที่เกินอยู่รอบๆ ออก ด้วย เครื่องตัด เพื่อให้ได้รูปแบบตามต้องการ
4.โกรกฉลุ นำชิ้นงานที่ได้มาเจาะและโกรกฉลุไปตามลวดลาย (ภายในและภายนอก)
5.ขึ้นรูป นำชิ้นงานที่โกรกฉลุได้ตามรูปแบบแล้วมาขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดแรงที่มีแม่แบบสำหรับอัดให้มีส่วนโค้งและนูนตามรูปแบบของชิ้นส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น
6.บัดกรีส่วนประกอบ ชิ้นส่วนของเครื่องราชอิสริยาภรณ์บางชิ้นประกอบด้วยส่วนประกอบ หลายส่วน จึงต้องนำมาบัดกรีติดเป็นชิ้นเดียวกัน
7.ปรับแต่ง นำชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มาจัด (ปรับแต่ง) ให้ได้มาตรฐานตามรูปแบบที่ถูกต้อง คือ เมื่อนำชิ้นส่วนเหล่านี้มาประกอบจริง เข้าด้วยกันแล้ว จะได้ตัวเครื่องราช อิสริยาภรณ์ที่มีรูปทรงสมบูรณ์และสวยงาม
8.ฝังเพชร เครื่องราชอิสริยาภรณ์บางชั้นมีเพชรประดับ ต้องนำชิ้นงานมาฝังเพชร ล้างทำความสะอาดและชุบเคลือบโรเดียม
9.ลงยาสี นำชิ้นงานมาลงยาสี ทิ้งไว้ให้แห้งจากนั้นใช้ไฟลนเป่าให้ยา สีละลาย ติด กับพื้นผิวโลหะทิ้งไว้ให้เย็น แล้วขัดให้หน้ายาสีเรียบเสมอกันลงยาสี
10.ขัดเงา นำชิ้นส่วนประกอบทุกชิ้นมาขัดให้สะอาดเป็นเงางามด้วยลูกขัดสักหลาด ก่อนนำไปชุบทอง
11.ชุบทอง นำชิ้นส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ต้องชุบเคลือบผิวด้วยโลหะทองคำ มาล้างทำความสะอาดด้วยสารเคมี แล้วนำไปชุบในน้ำยาชุบทองคำ
12.ปาดเงาหรือตัดเพชรสร่ง ปาดเงา คือ การแกะหรือปาดเนื้อโลหะเป็นแนวยาว (ตามลักษณะ ของชิ้นงาน) เพื่อให้แลดูสวยงาม ในการปาดจะต้องใช้น้ำหนักเท่ากัน ในการ ปาดในแนวเดียวกัน จึงจะมีความสวยงามเสมอกัน ส่วนการตัดเพชรสร่ง คล้ายกับการปาดเงา แต่จะแกะให้เป็นเหลี่ยม มองดูเงาแวววาวคล้ายเพชร (ชิ้นงานจะมีลักษณะกลม) ซึ่งจะต้องใช้แรงกดหรือน้ำหนักในการแกะ แต่ละครั้งเท่ากันจึงจะมีการสะท้อนแสงเป็นมุมสวยงาม
13.ประกอบ เมื่อเสร็จตามขั้นตอนข้างต้นทั้งหมดแล้ว จึงนำชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบ เข้าด้วยกันเป็นตัวเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากนั้นนำมาเย็บติดแพรแถบที่ เตรียมไว้ ก่อนบรรจุลงกล่อง ตามชนิดและชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์