พิสูจน์ความเชื่อและแรงศรัทธาของสตรีล้านนาที่ซ่อนใน “ปิ่นปักผม”

ล้านนาเป็นดินแดนที่เปี่ยมไปด้วยอารยธรรมโบราณ ไม่เว้นแม้แต่เครื่องประดับของสตรีอย่าง “ปิ่นปักผม” ที่ชาวไทยอง หรือไทลื้อเรียกปิ่นปักผมว่า “หมาดโห” ส่วนลาวล้านช้างเรียก “หมั้นเกล้า” ซึ่งใครจะคิดว่าเจ้าปิ่นน้อยด้ามงามนี้จะมีความเป็นมามากกว่าแค่เครื่องประดับเสริมความงาม เพราะแท้จริงแล้วปิ่นปักผมของชาวล้านนาคือสิ่งที่ใช้แทนดอกไม้ในการบูชาขวัญบนกระหม่อมตามความเชื่อโบราณ!

สตรีล้านนาในอดีตนิยมทำมวยผมสูงค่อนไปทางด้านหลังศีรษะ และเด็ดดอกไม้สีสันสดใสมีกลิ่นหอมมาเสียบประดับมวยผม ส่วนใหญ่เป็นดอกเก็ดถวา สะบันงา กระดังงา มะลิ เอื้องผึ้ง และเอื้องเงิน เพราะเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม โดยมีความเชื่อว่าการประดับดอกไม้เป็นการบูชาขวัญบนกระหม่อมที่มีถึง 32 ขวัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต และเพื่อการก้มกราบบูชาพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนไปใช้ “ปิ่นปักผม” เพื่อความสวยงามและความเป็นสิริมงคล แทนการใช้ดอกไม้ซึ่งมีอายุการใช้งานที่สั้นและเหี่ยวเฉาได้ การทำปิ่นในยุคแรกๆ นิยมทำเป็นรูปดอกไม้ มักหล่อด้วยโลหะ เงิน หรือทองเหลือง ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มคนมีเงินหรือเจ้านายชั้นสูง ส่วนชาวบ้านใช้ปิ่นที่ทำจากกระดูกสัตว์

.

ที่มา : https://www.ch3thailand.com/news/scoop/16840

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *