อาจารย์ ดร.กรกนก อุบลชลเขต อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมยางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ นักวิจัยรุ่นใหม่ที่ได้ทดลองวิจัยนำโลหะเงิน หรือซิลเวอร์ (Silver) ซึ่งเป็นโลหะที่มีประสิทธิภาพโดดเด่นในการต่อต้านเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส มาใช้ในงานวิจัยโดยได้นำเอานาโนเทคโนโลยี มาทำให้โลหะเงินมีขนาดเล็กลงในระดับนาโนเมตร
เรียกว่า “อนุภาคซิลเวอร์นาโน (Silver Nano)”อนุภาคซิลเวอร์นาโน ที่มีขนาดเล็กนี้ทำให้ไปเพิ่มพื้นที่ผิวในการสัมผัส ระหว่างอนุภาคซิลเวอร์นาโน กับเชื้อโรค ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อโรคดีขึ้นกว่าเดิมหลายร้อยเท่า
เรียกว่า “อนุภาคซิลเวอร์นาโน (Silver Nano)”อนุภาคซิลเวอร์นาโน ที่มีขนาดเล็กนี้ทำให้ไปเพิ่มพื้นที่ผิวในการสัมผัส ระหว่างอนุภาคซิลเวอร์นาโน กับเชื้อโรค ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อโรคดีขึ้นกว่าเดิมหลายร้อยเท่า
.
อาจารย์ ดร.กรกนก กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการทำซิลเวอร์นาโน ที่ทางมหาวิทยาลัยได้คิดค้น จะใช้กรรมวิธีสีเขียว หรือ “Green Synthesis” มาผลิตซิลเวอร์นาโน ซึ่งเทคนิคนี้ได้นำวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และราคาถูกมาทดแทนการใช้สารเคมีอันตราย เป็นกระบวนการที่ใช้สารจากธรรมชาติ คือ น้ำตาลเป็นวัสดุหลักในการสังเคราะห์ อีกทั้ง ได้พัฒนาขั้นตอนในการผลิตให้ทำง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีความปลอดภัย และต้นทุนต่ำ โดยมีส่วนประกอบหลัก คือ น้ำ น้ำตาล และเกลือของเงิน หรือซิลเวอร์ไนเตรท
.
หลังจากได้กรีนซิลเวอร์นาโน แล้วก็นำมาเคลือบหน้ากากอนามัยชนิดผ้า ทำให้มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อโรคที่ดี มีต้นทุนถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 การนำนวัตกรรมกรีนซิลเวอร์นาโน สำหรับหน้ากากอนามัยชนิดผ้า ถือเป็นการนำผลงานทางวิชาการมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยทักษิณ คือ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” ได้อย่างแท้จริง
.
ข้อมูลอ้างอิง : https://thainews.prd.go.th/…/detail/TCATG200320164403271